โรคหนองในเทียม เกิดจากอะไร รักษาหายไหม

โรคหนองในเทียม เกิดจากอะไร? รักษาหายไหม?

 

โรคหนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย ติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชาย และหญิง เกิดจากแบคทีเรีย รักษาได้ง่าย และหายขาดด้วยยาปฏิชีวนะ หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง โดยมักจะก่อให้เกิดการทำลายระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงอย่างมาก จนอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ซึ่งการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เป็นวิธีป้องกันโรคหนองในเทียมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

หนองในเทียม คืออะไร?

โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) หรือ NSU โดยเกิดจากเชื้อโรคหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อจากคู่นอนระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมูกใส หรือหนองที่บริเวณอวัยวะเพศ ที่มีลักษณะอาการคล้ายกับโรคหนองในแท้  หนองในเทียมอาจไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจนในผู้ป่วยบางราย และ เป็นโรคที่พบมากในวัยรุ่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งเมื่อติดเชื้อโรคหนองในเทียมแล้ว จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ และโรคซิฟิลิสได้มากกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า

สาเหตุโรคหนองในเทียม

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามัยเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อสามารถแพร่ติดต่อได้หลายทาง เช่น จากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ทางอวัยวะเพศ ทางทวารหนัก ทางปาก หรือแม้กระทั่งทางตา หากมีสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อกระเด็นใส่ รวมไปถึงการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ สำหรับระยะอาการของโรคในเพศหญิง และเพศชายจะมีระยะฟักตัวที่แตกต่างกันและขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ ซึ่งมักจะแสดงอาการภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น

อาการโรคหนองในเทียม

ในช่วงแรกอาจจะยังไม่แสดงอาการให้พบเห็น หลังได้รับเชื้อแล้วในระยะเวลา 1-3 สัปดาห์ จะแสดงอาการแตกต่างกันออกไปตามเพศ โดยมีลักษณะดังนี้

อาการในเพศชาย 

  • มีไข้ เจ็บคอ คอแห้ง 
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว
  • มีมูกใส หรือขุ่นไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ ซึ่งไม่ใช่ปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ
  • รอบๆ รูท่อปัสสาวะดูบวมแดง 
  • มีอาการระคายเคืองและคันบริเวณท่อปัสสาวะ
  • มีอาการอักเสบที่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • มีอาการแสบร้อน รู้สึกเจ็บ ปัสสาวะแสบขัด ขณะปัสสาวะ
  • รู้สึกปวด หรือมีการบวมที่ลูกอัณฑะ
  •   มีหนองที่บริเวณทวารหนัก มีเลือดไหล

อาการในเพศหญิง

  • มีตกขาวลักษณะผิดปกติ ตกขาวเป็นมูกปนหนอง มีกลิ่นเหม็น
  • รู้สึกเจ็บหรือแสบที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ
  • รู้สึกคันหรือแสบร้อนบริเวณรอบอวัยวะเพศ
  • รู้สึกเจ็บท้องน้อย หรือเจ็บที่กระดูกเชิงกราน เวลามีประจำเดือน หรือขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีไข้ เจ็บคอ คอแห้ง 
  • มีหนองที่บริเวณทวารหนัก มีเลือดไหล
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว
  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์  หรือบางรายมีเลือดออกช่วงที่ไม่มีประจำเดือน

อาการแสดง สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางอื่น ๆ เช่น ทางทวารหนัก หรือทางปากกับผู้ที่ติดเชื้อ 

  • รู้สึกปวด เจ็บ ที่บริเวณทวารหนัก
  • มีเลือดไหล หรือมีหนองที่บริเวณทวารหนัก 
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางปากอาจมีไข้ ไอ และรู้สึกเจ็บคอคอแห้ง 

การรักษาโรคหนองในเทียม

  • สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยรักษา หรือป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายของแบคทีเรียตัวอย่างกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาหนองในเทียมในประเทศไทย ได้แก่กลุ่มยาเพนิซิลลิน (Penicillins) ได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ดังนี้
    • หนองในเทียมที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก และคอ แนะนำให้เลือกใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin), ดอกซีไซคลิน (Doxycycline) ,อิริโทรมัยซิน (Erythromycin) และ ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin)  
    • หนองในเทียมเยื่อบุตาในผู้ใหญ่ แนะนำให้เลือกใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่  อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) ,ดอกซีไซคลิน (Doxycycline),อิริโทรมัยซิน (Erythromycin)  และ เตตราไซคลิน (Tetracycline) 
    • ยาสำหรับโรคหนองในเทียมในเด็ก ได้แก่ อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) และดอกซีไซคลิน (Doxycycline) 
  • ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษาในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยในเพศหญิงอาจมีอาการติดเชื้อหนองในเทียมขั้นรุนแรง แพทย์อาจจ่ายยาด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือด
  • ในระหว่างนี้ผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ จนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา แม้จะมีการใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน และสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาแบบครั้งเดียว ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และรับประทานยาจนครบตามแพทย์สั่ง ถึงแม้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
  • หลังจากนั้น 3 เดือน ควรกลับไปตรวจอีกครั้ง เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเกิดซ้ำ ร่วมกับการตรวจคัดกรองหาเชื้อในคู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์กันภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาด้วย
  •  ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง ควรเป็นการสั่งยาโดยแพทย์ เพื่อป้องกันการใช้ชนิดยาไม่ตรงกับโรคที่เป็นอยู่

การป้องกันโรคหนองในเทียม

  • ใช้ถุงยางอนามัย ใส่ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งทางอวัยวะเพศหรือทางทวารหนัก
  • ใช้ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชายหรือถุงครอบปาก (dental dam) ซึ่งมีลักษณะเป็นยางบางๆรูปสี่เหลี่ยมสำหรับผู้หญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • มีคู่นอนเพียงคนเดียว การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหนองในเทียม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างภายในร่างกาย โดยเฉพาะในเพศหญิง เพราะจะเป็นการลดจำนวนแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อช่องคลอด และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ควรตรวจอย่างละเอียดว่าได้ล้างเซ็กซ์ทอย (sextoy) หรือเปลี่ยนถุงยางอนามัยที่ใช้กับเซ็กซ์ทอยแล้ว ก่อนใช้กับคนใหม่ และการลดจำนวนคู่นอนก็สามารถหลีกเลี่ยงโรคหนองในเทียมได้
  • หนองในเทียมจะไม่ติดต่อผ่านการจูบ การกอด การใช้ช้อนส้อม การใช้สระว่ายน้ำ การใช้ห้องน้ำหรือห้องอาบน้ำร่วมกับผู้ป่วย
  • ควรดื่มน้ำก่อนร่วมเพศและถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ หรือฟอกล้างสบู่ทันทีหลังร่วมเพศ อาจช่วยลดการติดเชื้อลงได้บ้าง แต่ไม่ใช่ว่าจะได้ผลทุกราย
  • หากมีอาการที่บ่งชี้ว่ากำลังเป็นโรคหนองในแท้ หนองในเทียม หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์และรีบไปพบแพทย์ เพราะหากผลตรวจออกมาพบว่าเป็นโรคหนองในเทียม และผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าวมาได้ นอกจากนี้ยังต้องแจ้งให้คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยภายในช่วง 60 วันที่ผ่านมาได้ทราบเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่เหมาะสมจนกว่าจะหายดี ก่อนที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง
  • ควรหมั่นไปพบแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

โรคหนองในเทียม ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ การตรวจหาเชื้อโรคหนองในเทียม เพื่อจะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโรคที่ร้ายแรง หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ทั้งยังสามารถควบคุมไม่ให้แพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้อีกด้วย  

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *