เอชไอวีป้องกันง่ายกว่ารักษา
| | | |

เอชไอวีป้องกันง่ายกว่ารักษา

เอชไอวีเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คหลายคนหวาดกลัวการติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่น่ากลัว และไม่มีทางรักษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สาธารณสุข และองค์กรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องให้ความรู้ประชาชนถึงวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการมิให้ตนเอง และครอบครัวติดเชื้อเอชไอวีนี้ได้

เอชไอวีคืออะไร?

เอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

  1. ปริมาณเชื้อเอดส์ที่ได้รับ หากได้รับเชื้อเอดส์ในปริมาณมากก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์สูงตามไปด้วย เชื้อเอดส์จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด และน้ำนมแม่ ตามลำดับ ส่วนในน้ำลายหรือน้ำตา จะมีเชื้อเอชไอวีอยู่น้อยมาก จนไม่สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นได้
  2. การมีบาดแผล หากมีบาดแผลบริเวณผิวหนังหรือในปากก็ย่อมทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์สูง เพราะเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
  3. ความบ่อยในการสัมผัสเชื้อ หากมีการสัมผัสเชื้อไวรัสบ่อย โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็มีสูงขึ้น เช่น นักวิจัยที่ต้องทำการทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัส เอชไอวี เป็นต้น
  4. การติดเชื้อแบบอื่น ๆ เช่น แผลเริม ซึ่งแผลชนิดนี้จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ได้ง่าย และเชื้อเอดส์ก็ยังเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายขึ้นด้วย
  5. สุขภาพของผู้รับเชื้อ หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ยาก แต่หากสุขภาพอ่อนแอ ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน
  6. ช่องทางที่ทำให้เกิดการสัมผัส หรือส่งต่อเชื้อได้โดยตรง เช่น การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ซึ่งเป็นการส่งต่อเชื้อกันโดยตรง โดยกรณีของการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เชื้ออาจจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุช่องคลอด เยื่อบุช่องทวาร หรือบริเวณเยื่อบุอ่อนปลายอวัยวะเพศชาย
  7. เชื้อเอชไอวีที่ติดต่อได้ต้องเป็นเชื้อเอชไอวี ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น เข้าไปในกระแสเลือด ช่องคลอด ช่องทวารหนัก เป็นต้น แต่ถ้าเชื้อออกมาและอยู่ในที่ร้อน แห้ง หรือนอกร่างกาย เชื้อจะด้อยคุณภาพและไม่สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นได้

ควรตรวจหาเชื้อเอดส์เมื่อไหร่

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่ใช้เข็มหรือหลอดฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่เกิดในพื้นที่ที่มีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีสูง (การรู้ว่าประเทศเกิดของแม่คุณช่วยได้)
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันกับคู่นอนมากกว่าหนึ่งคนในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา และ/หรือ
  • ผู้ที่คู่ของคุณอาศัยอยู่กับเอชไอวีและไม่ใช้ยาเพื่อควบคุม
  • ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรือแต่งงาน
  • ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนมีพฤติกรรมเสี่ยง
  • ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของแม่และตัวเด็ก
  • ผู้ที่จะเดินไปทำงานต่างประเทศ เพราะต้องการข้อมูลที่สนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพร่างกาย

ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี มีทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะไม่ปรากฏอาการ ในระยะนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใด ๆ ให้เห็น จึงดูเหมือนคนปกติที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่อาจจะมีอาการป่วยเล็กน้อย โดยเฉลี่ยนั้น จากระยะแรกเข้าสู่ระยะที่ 2 จะใช้เวลาประมาณ 7 – 8 ปี แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการอยู่ได้นานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นๆได้ เพราะว่าผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่ในระยะแรก ยังไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดเชื้อแล้ว
  2. ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ หรือ ระยะปรากฏอาการ ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตติดต่อกันนานหลายเดือน มีเชื้อราบริเวณในปาก โดยเฉพาะกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุเกิน 1 เดือน เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด และอื่น ๆ ในระยะนี้อาจมีอาการอยู่เป็นปี ก่อนพัฒนาลุกลามกลายเป็นเอดส์เต็มขึ้นในระยะต่อไป
  3. ระยะเอดส์เต็มขั้นหรือระยะโรคเอดส์ ในระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปเยอะมาก ซึ่งทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และร่างกายก็ไม่สามารถขจัดเชื้อโรคเหล่านี้ออกไปจากร่างกายได้  ซึ่งมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อชนิดใด และเกิดขึ้นบริเวิณอวัยวะส่วนใดของร่างกาย เช่น หากติดเชื้อวัณโรคที่ปอด อาการที่พบจะมีไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด แต่ถ้าเป็นเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรวดแรง อาเจียน คอแข็ง คลื่นไส้ และถ้าเป็นอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทก็จะมีอาการซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรง ความจำเสื่อม ซึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ในระยะสุดท้ายนี้ จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 – 2 ปีเท่านั้น

อาการของโรคเอชไอวี/โรคเอดส์ โดยทั่วไป จะมีดังนี้

  • ปอดอักเสบ
  • สูญเสียความจำ อาการซึมเศร้าและอาการทางระบบประสาทอื่นๆ
  • ท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งสัปดาห์
  • เหนื่อยผิดปกติ
  • อาการไข้ที่กลับมาเป็นซ้ำๆ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • มีผื่นตามผิวหนัง ในช่องปาก จมูกและเปลือกตา
  • แผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศและทวารหนัก
  • อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ

การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การรักษาเอชไอวีมีหลายประเภท รวมถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) และการป้องกันโรคก่อนการสัมผัส (PrEP)

ยารักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ที่ได้รับการรับรองมากกกว่า 25 ชนิด เรียกว่า ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drugs หรือเรียกย่อว่า ARV) ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อ เอชไอวี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคสู่คนอื่น

การรักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีประกอบด้วยการใช้ยาต้านไวรัสในกลุ่ม ARV หลายชนิดรวมกันเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือเรียกว่า Antiretroviral therapy (ART) วิธีการนี้เป็นการรักษาโรคโดยการควบคุมไวรัสไม่ให้ขยายพันธุ์ ทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น 

หากมีความกังวลว่าตัวเองอาจเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง (3 วัน) สามารถใช้ยา ARV หลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PEP) เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับยาให้เร็วที่สุดภายในเวลา 3 วันหลังจากสัมผัสเชื้อเอชไอวีเพื่อให้การป้องกันได้อย่างมีประสิทธิผล

นอกจากนี้ ยา ARV สามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PrEP) ใช้ในผู้ไม่มีเชื้อเอชไอวีแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง และต้องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต้องรับประทานยาทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

แพทย์จะให้ผู้ป่วยใช้ยาหลายตัวร่วมกันเพื่อป้องการดื้อยา และจะต้องรับประทานยาอย่างเคร่งครัด และผู้ติดเชื้อยังต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นและช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงมากขึ้น เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลิกสูบบุหรี่

 

ป้องกันติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้อย่างไร

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • มีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ 
  • ก่อนสมรส หรือมีลูก ควรมีการตรวจเลือด
  • งดใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
  • พาคู่รักและตนเองไปตรวจเลือด หรือรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ 
  • หลีกเลี่ยงการสักตามผิวหนัง การเจาะส่วนต่างๆของร่างกายเพราะสถานบริการบางแห่งอาจรักษาความสะอาดของเครื่องมือไม่ดีพอ

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้ http://www.klonghaecity.go.th/news/detail/175494/data.html
  • ปัจจัยและโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อเอชไอวี
    https://www.health-iv.com/บทความ/โรคติดต่อ-เพศสัมพันธ์/ปัจจัยและโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อเอชไอวี/
  • ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์
    https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2016/hiv-aids-infection-treatment

Similar Posts