Window period
|

ระยะฟักตัว (Window period) 

หลักการตรวจ HIV คือ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HIV ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น เพื่อต่อสู้กับการเชื้อไวรัส HIV ดังนั้นการตรวจ HIV จะใช้หลักการตรวจหาภูมิคุ้มกันนี้ในเลือด ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณนึงหลังการติดเชื้อ HIV จึงจะตรวจพบระดับภูมิคุ้มกันนี้ได้  โดยถ้าตรวจก่อนอาจจะตรวจไม่พบ ทำให้ผลเป็นลบ ทั้งที่มีการติดเชื้อแล้ว แต่เชื้ออยู่ในระยะฟักตัว ทำให้ผลตรวจมีการคลาดเคลื่อนได้

Window period คืออะไร

ระยะฟักตัว (Window period)  คือ ช่วงเวลาที่อาจได้รับการติดเชื้อ HIV แล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยังไม่ขึ้นถึงระดับที่จะสามารถตรวจพบเชื้อได้ หรือยังตรวจไม่พบ ดังนั้นหากเข้ารับการตรวจ HIV ในช่วงระยะฟักตัว จะได้ผลเป็นลบ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คุณอาจติดเชื้อ HIV แล้วก็ได้  ทำให้ ผลที่ออกมานี้จะทำให้เข้าใจผิดคิดว่า ตนเองไม่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งระยะที่ภูมิคุ้มกันของเราจะมีปฏิกิริยาต่อเชื้อเอชไอวีประมาณ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป เราจึงจำเป็นต้องรอระยะเวลาก่อน  และในทางปฏิบัติหากมีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็ควรต้องมาตรวจซ้ำอีกครั้งหลัง 3 เดือนจากการตรวจครั้งแรก  ทั้งนี้ระยะ ฟักตัวของการตรวจแต่ละวิธีการตรวจเชื้อเอชไอวีก็ไม่เท่ากัน มีความแตกต่างกันออกไปด้วย 

ตรวจเอชไอวี มีกี่แบบ และรอระยะฟักตัวกี่วัน

การตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน มีอยู่หลายวิธี โดยแบ่งออกเป็นวิธีต่าง ๆ ดังนี้

วิธีตรวจเอชไอวีระยะฟักตัว (วัน)รู้ผล
NAT5-75-7 วัน
HIV Gen 4th141-2 ชม.
Anti-HIV301-2 ชม.
  • การตรวจเอชไอวี แบบหาสารพันธุกรรมของเชื้อ (NAT)  ระยะฟักตัวตั้งแต่ 5-7 วันขึ้นไป วิธีนี้ถือเป็นการตรวจเอชไอวีที่รวดเร็ว และมีความแม่นยำสูง สามารถรู้ผลได้ 5-7 วันหลังจากทำการตรวจ ซึ่งการตรวจแบบนี้ แพทย์จะแนะนำให้กลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากนี้ 1-3 เดือน เพื่อยืนยันผล
  • การตรวจเอชไอวีแบบ HIV Ag/Ab (Gen 4th) ระยะฟักตัวตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป วิธีนี้เป็นการตรวจเอชไอวีด้วยการใช้น้ำยา Gen 4th ซึ่งเป็นการพัฒนาของการตรวจเอชไอวีแบบหาภูมิต้านทาน (Antibody) และการตรวจเอชไอวีแบบหาโปรตีนจำเพาะของเชื้อ (Antigen) รวมอยู่ในน้ํายาเดียวกัน สามารถรู้ผลได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง หลังจากทำการตรวจ
  • การตรวจเอชไอวีแบบหาภูมิต้านทาน (Anti-HIV) ระยะฟักตัวตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป และมักจะเป็นวิธีที่ใช้ตรวจซ้ำอีกครั้ง หลังจากเคยตรวจทั้งสองแบบแรกมาแล้ว สามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียวเช่นกันกับการตรวจแบบน้ำยา Gen 4th

Window Period กี่วัน ถึงจะเชื่อถือได้

ช่วงระยะฟักตัว (Window period) จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 1-3 เดือน เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง โดยตรวจครั้งสุดท้ายที่หลัง 3 เดือน ก็เพียงพอที่จะมั่นใจได้แล้ว เพราะการตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน HIV ในระยะฟักตัวนี้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

ด้วยวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน สามารถลดระยะเวลาของ window period ให้สั้นลง จนสามารถทำการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี ได้เร็วที่สุดประมาณ 2 สัปดาห์ หลังการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม การตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีนั้น ถ้าจะให้ผลตรวจที่ชัดเจน และเชื่อถือได้นั้น ต้องเป็นการตรวจห่างจากความเสี่ยง จากครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 1 เดือน และตรวจติดตามอีกครั้งหลัง 3 เดือน เพราะเป็นการตรวจเลือด หาเชื้อในช่วงเวลา ที่จะสามารถให้ผลตรวจ ที่มีความแม่นยำมาก

แนะนำการตรวจเอชไอวีฉบับสายคิดมาก สายเซฟสุด

สำหรับผู้ที่ผลเลือดเป็นลบ (negative หรือ Non-Reactive)

• ตรวจครั้งแรก: พิจารณา ระยะเวลาเสี่ยงที่ได้รับ หากกังวลใจมาก แนะนำตรวจ NAT ซึ่งมีความแม่นยำมาก ตรวจได้ที่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ราคาค่อนข้างสูง  แนะนำว่ารอให้เกิน 21 วัน หรือ 1 เดือน จะเหมาะสม เพราะหากคุณตรวจแบบ p24 antigen testing และ Antibody ในชุดตรวจเดียวกันเลย ก็จำเป็นจะต้อง ตรวจอีกครั้ง เพื่อติดตามผลแอนติบอดี ที่ระยะเวลา 21 วัน หรือ 1 เดือน อีกทั้งการตรวจที่ 21 วัน หรือ 1 เดือน จะแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากปริมาณ Antigen มีมากขึ้น และร่างกายสร้างแอนติบอดีแล้ว ผลที่ได้ก็จะมีความแม่นยำมาก

• ตรวจซ้ำเพื่อเช็ค: สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ

หากตรวจครั้งแรกแบบ NAT หรือ แบบ p24 antigen testing และ Antibody ในชุดตรวจเดียวกัน แนะนำให้ตรวจอีกครั้งที่เกิน 21 วัน หรือ 1 เดือน และอาจจะต้องตรวจอีกครั้ง ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน

หากตรวจครั้งแรกแบบ ตรวจหาภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อไวรัส (Antibody) แนะนำให้ตรวจอีกครั้ง หลังจากเสี่ยงเกิน 1 เดือน ไปแล้ว โดยอาจะตรวจ เมื่อไหร่ก็ได้ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน

• ตรวจซ้ำเพื่อความสบายใจ: ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน ในตอนนี้ก็สามารถสบายใจได้แล้ว เนื่องจากการตรวจครั้งนี้สามารถมั่นใจได้เกือบ 100% เพราะหากติดเชื้อเอชไอวีจริงในระยะเท่านี้จะต้องตรวจพบแอนติบอดี

โดยปกติทั่วไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยง บางรายอาจจะเลือก ตรวจเพียง 2 ครั้ง คือ ที่ 30 วัน และตรวจเช็คอีกครั้งที่ 3 เดือนหลังเสี่ยง เพียงเท่านี้ก็สามารถสบายใจได้ และเป็นการประหยัดเงินอีกด้วย

ตรวจหลัง 3 เดือน

ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน มั่นใจได้หรือยัง?

การตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีนั้น ถ้าจะให้ผลตรวจที่ชัดเจน และเชื่อถือได้นั้น ต้องเป็นการตรวจ ห่างจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 1 เดือน  ผลตรวจมีความน่าเชื่อถือได้จะอยู่ที่ประมาณ 95%  และตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 3 เดือน หลังจากที่ได้รับความเสี่ยงในครั้งสุดท้ายได้  เพราะเป็นการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในช่วงเวลานี้จะสามารถให้ผลตรวจ ที่มีความแม่นยำมากถึง 99.9% ทั้งนี้ หลังจากตรวจเช็คที่ 3 เดือนหลังเสี่ยงแล้ว ยังพบว่ามีหลายๆ ท่าน ที่ยังคงตรวจเช็คโรคนี้อยู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ เพราะเป็นการช่วยให้ตนเองทราบผล และเป็นความสบายใจส่วนบุคคลมากขึ้น แต่โดยทั่วไป หากตรวจหลังเสี่ยง 3 เดือน แล้วไม่พบเชื้อ คุณหมอจะให้ปิดเคสได้แล้ว

หากผลตรวจ ออกมาเป็นบวก หรือลบ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ให้ทำการตรวจซ้ำ อีกครั้ง หลังจากที่ตรวจครั้งแรก เพื่อยืนยัน ผลการตรวจที่แน่ชัด

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ตรวจเอชไอวีเมื่อไหร่ดีล่ะ? https://ตรวจเอชไอวี.com/ตรวจเอชไอวีเมื่อไหร่/
  • ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน มั่นใจได้หรือยัง? http://www.thaihivhometest.com/ตรวจเลือดหลัง3เดือน/

Similar Posts